วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันจัดนิทรรศการ

ในวันนี้ เป็นวันที่ครบกำหนดต้องมาแสดงชิ้นงานในพิพิธภัณท์แแล้ว ซึ่งกลุ่มของเราทำเกี่ยวกับตู้จำลองภัยพิบัติ ซึ่งจะมีเอฟเฟคประกอบ อาทิ มีพ่นน้ำใส่, มีลมร้อน และมีแสงแฟลช

ในส่วนของเวลาการจัดแสดงนั้น จัดตั้งแต่เวลา 10.00-16.00น. ตามเวลาเปิด-ปิดของพิพิธภัณท์ โดยจะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. และจัดต่อไปอีก 1 อาทิตย์

ซึ่งวัตถุประสงค์ของกลุ่มเราที่ตั้งไว้นั้น หลักๆคือน้องจะได้รับความรู้หรือประสพการณ์ที่แปลกใหม่จากการได้รับชมหรือเล่นที่เครื่องเล่นนี้

โดยรูปแบบของการวัดผลของกลุ่มเราจะใช้การวัดผลทั้งหมด 2 ประเภท ประเภทแรกคือให้น้องหยิบลูกอมจากกล่องที่แตกต่างกัน 2 ใบ โดยกล่องแรกจะเป็นกลุ่องที่บอกว่าชอบกิจกรรมที่ฐานนี้ ส่วนอีกกล่องจะเป็นกล่องที่ไม่ชอบ ซึ่งเราได้ทำการควบคุมตัวแปรอย่างลูกอมว่าให้ลูกอมในกล่องทั้งสองชนิดนั้นเป็นลูกอมชนิดเดียวกัน และอีกประเภทของการวัดคือการสังเกตน้องๆหรือผู้ปกครองที่มาร่วมเล่นที่ฐาน รวมถึงการถามคำถามน้องๆเกี่ยวกับความรู้หรือประสพการณ์ใหม่ๆที่ได้รับแล้วบันทึกไว้ ซึ่งจากการวัดผลทั้ง 2 ประเภท ก็จะตอบคำถามในส่วนของวัตถุประสงค์ได้ครับถ้วน

การวัดผลประเภทแรกเราจะได้ว่าน้องหยิบลูกอมจากกล่องชอบทั้งหมด 91 คน จาก 91 คน(นับเฉพาะน้องๆที่มารับแสตมป์ ไม่นับรวมผู้ปกครอง) ซึ่งนั่นหมายถึง ไม่มีใครไม่ชอบเลย (ในส่วนนี้เพื่อเพิ่มความละเอียดของข้อมูล อาจจะเพิ่มกล่องรู้สึก"เฉยๆ"เพิ่มอีกกล่อง) แต่เหตุผลสนับสนุนที่ว่าทำไมน้องๆถึงสนุก เนื่องจากมีเอฟเฟคที่น้องจะโดนน้ำหรือลมร้อนซึ่งน้องๆจะสนุกกับส่วนนี้เป็นหลักและยังมีน้องๆบางคนที่สนใจคลิปความรู้จนจบคลิป

ส่วนการวัดผลประเภทที่ 2 จากการสังเกตน้องๆที่มาร่วมกิจกรรมที่ฐาน บ้างก็พูดว่า
น้อง: "อยากดูการ์ตูน(คลิปความรู้)"
น้อง: "น้ำท่วมเปียกด้วย(โดนเอฟเฟกพ่นน้ำใส่)"
น้อง: "เอฟเฟกดีมาก","ทำไมไม่บอกก่อนว่าน้ำพุ่ง เปียกเลย ไม่น่าเลือกชายหาดเลย"
พ่อ: "พี่เขาอุตสาห์ตั้งใจทำ ตั้งใจดูหน่อย"
แม่: "เนี่ย จะได้รู้ไว้ว่าทะเลทรายไม่เกิดแผ่นดินไหว"

และจากการถามน้องๆรวมถึงผู้ปกครองเกี่ยวกับตัวเครื่องและกิจกรรม ได้ผลตอบรับว่า
คำถาม: ทีวีอยู่ข้างบน ภาพอยู่ด้านหน้า ภาพเกิดได้อย่างไร?
น้อง: "ภาพเกิดจากการสะท้อน(น้องไม่รู้ว่าเขาเรียกว่า Hologram)"
คำถาม: ปลาอะไรเอ่ย ที่อยู่ใต้พื้นโลก พอดิ้นแล้วเกิดแผ่นดิวไหว?
น้อง: "ปลาอานนท์ดิ้นดุ๊กดิ๊ก"
คำถาม: แผ่นดินไหวในทะเลทำให้เกิดอะไรได้บ้าง?
น้อง: "แผ่นดินแตกในทะเลทำให้เกิดสึนามิ"
คำถาม: ไฟไหม้เกิดที่ชายหาดได้เปล่า?
น้อง: "เกิดไม่ได้ เพราะชายหาดมีน้ำ"
คำถาม: น้ำท่วมทะเลทรายได้หรือเปล่า?
น้อง: "น้ำท่วมไม่ได้เพราะทะเลทรายไม่มีน้ำ"
คำถาม: คุณแม่ได้ยินเสียงชัดไหมครับ?
แม่: "ก็ได้ยินชัด แต่น่าจะทำเป็นหูฟัง"
คำถาม: คุณแม่คิดว่าตู้นี้โอเคหรือยัง?
แม่: "น่าจะเป็นอุโมงค์ยื่นออกมาไม่ให้ใครเห็น"
คำถาม: ทำไมถึงเลือกหยิบลูกอมจากกล่องน้าแอ๊ด(กล่องชอบ)?
น้อง: "เพราะมันยอดไปเลย ถึงได้เล่นหลายรอบ"
xxชอบคำตอบข้อนี้มากxxคำถาม: ทำไมน้องถึงเลือกดูคลิปความรู้จนจบ ทั้งๆที่น้องบางคนเลือกกดข้าม?
น้อง: "ที่เลือกดูคลิปความรู้ เพราะอาจมีสิ่งที่เราไม่รู้อยู่"

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนที่ได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์น้องๆรวมถึงผู้ปกครอง ในการประเมินผลด้านของความรู้และมุมมองที่มีต่องานของเรา

ในส่วนของการแบ่งหน้าที่เก็บข้อมูล เนื่องจากฐานของเราเป็นทางผ่านของหลายๆฐาน ทำให้ไม่ต้องพาน้องๆจากฐายอื่นมายังฐานเรามากนัก เพราะน้องๆต้องผ่านอยู่แล้ว การแบ่งหน้าที่จึงแบ่งเป็น 2 คน + 1 คน ประจำที่ตู้ โดยที่คนนึงจะให้คำแนะนำวิธีการเล่น ส่วนที่เหลือจะคอยถามน้องว่าสามารถเกิดเหตุการณ์นั้นๆได้หรือไม่และคอยแแกล้งน้องให้รู้สึกสนุกกับกิจกรรม ที่เหลือจะคอยติดแสตมป์และบันทึกแบบประเมินจากกล่องชอบหรือไม่ชอบ โดยหน้าที่ทั้งหมดนั้นจะหมุนเวียนกันไป

เรามารับชมรูปจากกิจกรรมที่น้องๆได้มาร่วมสนุกกันเลยดีกว่า








ในภาพรวมพบว่า น้องๆรู้สึกสนุกกับกิจกรรมที่เราจัดให้พอสมควร โดยมีน้องๆบางส่วนสนใจเล่นเฉพาะเอฟเฟกน้ำหรือลมร้อนที่เราเตรียมไว้ และมีบางส่วนที่ถึงแม้เราจะบอกให้เขากดข้ามวีดีโอความรู้แต่น้องๆยังยืนยันว่าจะดูคลิปความรู้ให้จบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการของเด็กในแต่ละวัย โดยเด็กที่เล็กหน่อยก็จะสนุกกับอะไรก็ตามที่พวกเขาได้เล่น ส่วนวัยที่โตหน่อยก็จะดูคลิปความรู้จนจบ เมื่อเราถามเกี่ยวกับความรู้ในคลิปก็สามารถตอบคำถามนั้นๆได้ นอกจากนี้ผู้ปกครองของเด็กยังได้ร่วมสนุกกับลูกๆของตนพร้อมๆกันอีกด้วย

และจากการสังเกต เป็นที่น่าแปลกใจว่า น้องๆส่วนมากจะจดจำสีได้ดีกว่าสัญลักษณ์ ซึ่งตัวการ์ดของเราจะมีสัญลักษณ์แทรกอยู่ในรูปภาพขนาดพอสมควร ส่วนสีของการ์ดน้องๆจะเห็นได้จากขอบการ์ด ส่วนที่วางการ์ดจะมีแถบสีที่บ่งบอกถึงการ์ดที่ต้องวางอยู่รอบๆ แต่จะมีสัญลักษณืที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจากการสังเกตพบว่าน้องๆส่วนมากใช้สีในการแยกวางการ์ดตามช่องของประเภทการ์ด

ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามเงื่อนไขของโปรเจคที่ว่า ชิ้นงานจะต้องจัดแสดงต่อได้เองในอีก 1 สัปดาห์ให้หลัง ดังนั้นแล้ว น้องๆยังสามารถมาเล่นกิจกรรมที่ฐานของเราได้เอง โดยที่ตัวตู้มีวิธีการเล่นติดไว้เรียบร้อย ซึ่งจะให้พี่ๆพนักงานคอยดูแลความเรียบร้อย  และพี่ๆจะทำการเก็บชิ้นงานในอีก 1 สัปดาห์ให้หลังนั่นเอง

ปล.รายละเอียดคลิปวีดีโอ สามารถดูได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้
https://drive.google.com/open?id=0B_K0bZyp3a7pdVJJV0dISmV4LVE





รายละเอียดคลิปวีดีโอที่ใช้

ในส่วนของคลิปวีดีโอนั้น จะเป็นคลิปวีดีโอที่เป็นเหตุการณ์ของภัยพิบัติร่วมกับคลิปความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัตินั้นๆ โดยเกิดจากการจับคู่ของบัตรคำทั้ง 16 รูปแบบ
โดยจะมีเหตุการณ์ที่สามารถเกิดได้ทั้งหมด 10 เหตุการณ์จาก 16 เหตุการณ์
ในส่วนของคลิปความรู้ ทางเราได้ทำการส่งข้อความขออนุญาติการใช้คลิปไปยังแหล่งที่มา โดยแนบเครดิตไว้ภายในคลิปตามคลิปต้นฉบับ ซึ่งทางเราได้นำคลิปความรู้จากต้นฉบับมาพากย์เสียงจากเสียงพากย์ภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทย เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของน้องๆ

เหตุการณ์ทั้ง 10 เหตุการณ์พร้อมความรู้จะประกอบไปด้วย
เหตุการ์ที่1: แผ่นดินไหว + เมือง = แผ่นดินไหว
เหตุการ์ที่2: แผ่นดินไหว + ชายหาด = สึนามิ
เหตุการ์ที่3: น้ำ + เมือง = น้ำท่วม
เหตุการ์ที่4: น้ำ + ชายหาด = สึนามิ
เหตุการ์ที่5: น้ำ + ป่าไม้ = แผ่นดินถล่ม/เลื่อน
เหตุการ์ที่6: พายุ + เมือง = ทอร์นาโด
เหตุการ์ที่7: พายุ + ชายหาด = พายุชายหาด
เหตุการ์ที่8: พายุ + ป่าไม้ = พายุในป่า
เหตุการ์ที่9: พายุ + ทะเลทราย = พายุทะเลทราย
เหตุการ์ที่10: ไฟไหม้ + ป่าไม้ = ไฟไหม้ป่า

ในส่วนของคลิปนั้นสามารถดูได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้





วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

รายละเอียดของอุปกรณ์การเล่น

อุปกรณ์การเล่นของเรานั้นจะใช้ RFID ติดกับบัตรคำซึ่งมีภาพและสัญลักษณ์ซึ่งสื่อถึงสถานที่และภัยพิบัติที่เราได้กำหนดไว้

โดยจะใช้สีและสัญลักษณ์เป็นตัวแบ่งชนิดของบัตรคำ

ซึ่งเราจะใช้สีแดงแทนภัยพิบัติและใช้สัญลักษณ์"ดาวกระจาย"
ส่วนสถานที่เราจะใช้สีเขียวและใช้สัญลักษณ์"บอกตำแหน่ง"

มีลักษณะบัตรคำดังนี้











วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560

ความคืบหน้า #5 (23/4/60)



ที่เห็นในคลิปคือการทดสอบควบคุมตัว effect 4d โดยเขียนโปรแกรมตั้งไว้ว่าให้กดปุ่มแดง แล้ว effect ทุก effect จะทำงาน ซึ่งก็มี flash พัดลมร้อน และ ละอองน้ำ ซึ่ง effect เหล่านี้จะถูก set ให้ทำงานตามภัยพิบัติที่ user เลือกไว้ เช่นไฟป่า พัดลมร้อนก็จะทำงาน เป็นต้น

และปุ่มสีแดงก็คือการทดสอบ input ว่า เมื่อ user เลือกภัยพิบัติและสถานที่เกิดแล้วจะทำการประมวลผลว่าเกิดได้หรือไม่ ถ้าได้จะแสดงวิดีโอภัยพิบัติพร้อม effect ในสถานที่นั้นออกมา แต่ถ้าไม่ก็จะให้ user ลอง input สถานที่และภัยพิบัติใหม่อีกครั้ง

ความคืบหน้า #4 (18/4/60)

เมื่อวิดีโอเสร็จไปแล้วพวกผมจึงลองเอามาฉายจริงเครื่องที่สร้างขึ้นมา

จะเห็นได้ว่าวิดีโอที่ฉายนั้นยังมัวๆ โค้งๆ เพราะอะครีลิคยังไม่ได้ติดกับตัวโครงได้ดีมากนัก ซึ่งที่เห็นในคลิปนี้เป็นการลองดูการสะท้อนของภาพว่าเป็นอย่างไร ภาพชัดหรือไม่ ผลที่ได้ออกมาก็ถือว่าน่าพึงพอใจครับ


วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560

ความคืบหน้า #3

ต่อไปก็มาดูในส่วนของ software กันบ้างดีกว่านะครับ

ในการ control นั้นพวกเราใช้ raspberry pi เป็น controller และส่วนหลักๆของเรานั้นคือการฉายภาพวิดีโอ ไปที่ฉากรับที่เป็นแผ่นอะครีลิคใส ใน raspberry pi มีโปรแกรมที่ใช้เปิดวิดีโอผ่าน command line คือ omxplayer

พวกเราจึงหาวิธีการ control video โดยใช้ code ของ python แล้วไปเจอ module ที่สามารถควบคมการทำงานของโปรแกรมได้นั่นก็คือ omxplayer-wrapper
(ref:https://github.com/willprice/python-omxplayer-wrapper)

จากนั้นก็ลองเขียนโปรแกรมดูว่า module นี้สามารถทำอะไรได้บ้าง คลิปวิดีโอที่เห็นด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างการทำงานที่ใช้ module นี้ในการ control program จะเห็นว่ามีการ play,pause,switch video




code : https://github.com/neverholiday/inventor_disaster/blob/master/omx.py

วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560

ความคืบหน้า #2

เนื่องจากไม่ได้อัพบล็อกนานมากกกก วันนี้เราก็จะมา update งานของพวกเรากันว่าตอนนี้ถึงขั้นไหนแล้ว

จากครั้งที่แล้วเราได้ทำโครงขึ้นมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว พวกเรามีความคิดว่าจะใช้แผ่นอะครีลิกในส่วนของโครงด้านบน และด้านล่างจะเป็นแผ่นไม้อัด 

พวกเราจึงได้สั่งแผ่นอะครีลิกเพื่อที่จะติดกับโครงเป็นตัว cover แล้วก็มีอะคริลิคใสซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดภาพฉายโฮโลแกรมแบบด้านเดียว 





รูปร่างอะครีลิคที่สั่งทางร้านตัดครับ

เมื่อทางร้านตัดอะครีลิกให้เราเสร็จแล้ว พวกเราจึงเอามาประกอบทันที ผลที่ได้ก็ตามนี้เลยครับบบ





ที่ยังไม่ได้ติดเพิ่มนั้นคือ slope ด้านบน และแผ่นที่เป็นฉากรับที่ต้องติดภายในตู้ ส่วนที่เป็น slope นั้นจะเป็น feature board และจะใช้ feature board ติดด้านในด้วยเพื่อปิดส่วนที่เป็นโครงเหล็กด้วย

จบไปแล้วนะครับสำหรับในส่วนของโครงตู้ ในครั้งหน้าเราจะมา update ในส่วนของ software และ hardware ที่ใช้ในการ control การเล่นโมเดลภัยพิบัตินี้กันนะครับ ไว้เจอกานนนนน